ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ชนิด 9 สายพันธุ์ 3 เข็ม สำหรับผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ฟรี! ตรวจสุขภาพ 33 รายการ
ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ชนิด 9 สายพันธุ์ 3 เข็ม สำหรับผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ฟรี! ตรวจสุขภาพ 33 รายการ
รายละเอียดราคา ฉีดวัคซีน HPV
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ชนิด 9 สายพันธุ์ 3 เข็ม สำหรับผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป
- ฟรี! ตรวจสุขภาพ 33 รายการ โปรแกรม BWM Quick Check Up (มูลค่า 15,000 บาท) มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจคัดกรองโรคตับ (Albumin)
- ตรวจคัดกรองโรคตับ ภาวะการติดเชื้อ (Globulin)
- ตรวจคัดกรองค่าเอนไซม์ของตับ (Albumin/Globulin Ratio)
- ตรวจคัดกรองโรคตับ (Total Protein)
- ตรวจคัดกรองโรคตับและภาวะดีซ่าน (Direct Bilirubin)
- ตรวจคัดกรองโรคตับและภาวะดีซ่าน (Indirect Bilirubin)
- ตรวจคัดกรองโรคตับและทางเดินน้ำดี (Total Bilirubin)
- ตรวจคัดกรองโรคตับและทางเดินน้ำดี (Total Bile Acid)
- ตรวจคัดกรองโรคตับและการอักเสบของกล้ามเนื้อ (AST)
- ตรวจคัดกรองโรคตับและการอักเสบภายในร่างกาย (ALT)
- ตรวจคัดกรองโรคตับ ทางเดินน้ำดี และกระดูก (ALP)
- ตรวจการทำงานของตับอ่อน (Amylase)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Glucose)
- ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด (Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (Triglycerides)
- ตรวจระดับไขมันชนิดดีในเลือด (HDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือด (LDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen)
- ตรวจระดับการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจประเมินประสิทธิภาพของไต (BUN/Creatinine Ratio)
- ตรวจประเมินประสิทธิภาพของไต (GFR)
- ตรวจคัดกรองโรคตับและไต (Gamma: GT)
- ตรวจคัดกรองภาวะโรคเกาต์ (Uric Acid)
- ตรวจระดับคลอรีนเอสเตอเรส (Cholinesterase)
- ตรวจคัดกรองโรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Total CK)
- ฟรี! ค่าตรวจสแกนอวัยวะภายในร่างกาย (Bio Body Scan) ด้วยเครื่อง Electro Interstitial Scan (EIS) 8 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจสแกนระบบหัวใจและหลอดเลือด (EIS)
- ตรวจสแกนระบบต่อมไร้ท่อ (EIS)
- ตรวจสแกนระบบขับถ่าย และระบบสืบพันธุ์ (EIS)
- ตรวจสแกนระบบสั่งการของประสาทและกล้ามเนื้อ (EIS)
- ตรวจสแกนระบบทางเดินหายใจ (EIS)
- ตรวจสแกนระบบการย่อยอาหาร (EIS)
- ตรวจสแกนระบบประสาทและสมอง (EIS)
- ตรวจสแกนระบบการเผาผลาญอาหาร (EIS)
- ค่าแพทย์ชำนาญการ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ฉีดวัคซีน HPV
- ระยะเวลารับริการฉีดวัคซีนประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- กรณีต้องการใบรับรองแพทย์ กรุณาแจ้งทีมงานล่วงหน้าก่อนนัดหมาย
- ฉีดวัคซีนเข็มที่สอง หลังจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มที่สาม นับจากเข็มแรก 6 เดือน
- ชาวต่างชาติสามารถเข้ารับบริการได้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ
- ระยะเวลารับบริการตรวจสุขภาพประมาณ 15-30 นาที
- ทราบผลการตรวจภายใน 15 นาที อ่านผลโดยผู้ชำนาญการ
- สามารถรับบริการตรวจสุขภาพก่อนฉีดวัคซีน หรือวันเดียวกับวันที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกเท่านั้น
- ตรวจสุขภาพโดยใช้วิธีการเจาะเลือด และตรวจสแกนร่างกายด้วยเทคโนโลยี Electro Interstitial Scan โดยการส่งกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เข้าสู่ร่างกาย เพื่อวัดความต้านทานของน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์แต่ละอวัยวะ
- หากมีการดามเหล็กในร่างกาย หรือทำบอลลูนหัวใจ จะไม่สามารถตรวจร่างกายในส่วนของการสแกนร่างกายได้
การเตรียมตัวก่อนรับบริการฉีดวัคซีน
- ผู้ที่มีอาการป่วย ติดเชื้อ มีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน
- ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
การเตรียมตัวก่อนรับบริการตรวจสุขภาพ
- ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจสุขภาพ
- งดเครื่องดื่มและอาหาร อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ
- หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
การดูแลหลังรับบริการ
- ควรนั่งพักหลังรับวัคซีนประมาณ 15 นาที เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด เป็นลม และคอยสังเกตอาการ หากมีความผิดปกติใดๆ เช่น เป็นผื่น แน่นหน้าอก ต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนัก ประมาณ 1-2 วัน
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
- วัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีอยู่ในวัคซีนที่เลือกฉีด ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคได้ แต่ไม่ได้ป้องกันการเกิดโรค 100% หลังฉีดจึงยังควรตรวจภายใน และดูแลสุขอนามัยทางเพศตามปกติ
- ช่วงอายุที่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV อยู่ระหว่าง 9-45 ปี แต่แนะนำให้ฉีดก่อนอายุ 26 ปี หรือยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
- เนื่องจากตัวยามีความเข้มข้น ขณะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและเดินยาจึงทำให้ปวดได้
- ผู้ที่ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ต่อสารประกอบในวัคซีน
- ผู้ที่มีอาการป่วย ติดเชื้อ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่าจะหาย
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
- อาการบวมหรือแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย
- ปวดกล้ามเนื้อ
- อาการหน้ามืด เป็นลม
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน HPV
เชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus: HPV) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โดยประมาณ 99.7% ของผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HPV เชื้อ HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก รวมถึงการสัมผัสเชื้อทางบาดแผลตามร่างกาย และการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะคลอด ไม่ใช่เพียงผู้หญิงเท่านั้นที่สามารถติดเชื้อ HPV ผู้ชายก็สามารถติดได้เช่นกัน และทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมา คือ- สำหรับผู้หญิง เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่ช่องคลอด ปากช่องคลอด ทวารหนัก มะเร็งบริเวณปาก และลำคอ หูดหงอนไก่ ทั้งยังเชื่อมโยงกับการเกิดโรคหัวใจด้วย
- สำหรับผู้ชาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก มะเร็งบริเวณปาก และลำคอ หูดหงอนไก่
- วัคซีน 2 สายพันธุ์ (Cervarix) ป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ลดโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70%
- วัคซีน 4 สายพันธุ์ (Gardasil) ป้องกันทั้งเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16, 18 และสายพันธุ์ 6, 11 ที่เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ ลดโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70% และป้องกันหูดหงอนไก่ได้ประมาณ 90%
- วัคซีน 9 สายพันธุ์ (Gardasil 9) ป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้ถึง 90%
จำเป็นต้องตรวจร่างกายก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่?
ไม่จำเป็นต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน หรือตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนฉีดวัคซีน แต่หากต้องการตรวจเพื่อจะได้ทราบว่ามีการติดเชื้ออยู่แล้วหรือไม่ ก็สามารถทำได้ แต่การตรวจในปัจจุบันบอกได้เพียงว่าติดเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่ ยังไม่ได้บ่งชี้ว่าติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ใด
หลังจากฉีดวัคซีนยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่?
หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ เนื่องจากวัคซีนครอบคลุมการป้องกันเชื้อ HPV แค่บางสายพันธุ์เท่านั้น โอกาสที่จะติดเชื้อสายพันธุ์อื่นที่ก่อให้เกิดมะเร็งยังมีอยู่
หากตรวจพบการติดเชื้อ HPV ยังสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้หรือไม่?
หากตรวจพบการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังสามารถฉีดวัคซีนได้ แต่วัคซีนนั้นจะป้องกันเฉพาะเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่ติดเท่านั้น และวัคซีนไม่สามารถรักษาหรือทำลายเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ตรวจพบแล้วได้
ขั้นตอนการเข้ารับบริการที่ BWM Clinic
- เมื่อท่านทำการจองสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์หรือชำระเต็มที่คลินิก แล้วท่านจะได้รับใบเสร็จการชำระเงิน
- นัดหมายเข้ารับบริการ โทร : 02-517-1213 หรือ Line ID: @bwmclinic https://lin.ee/9WMzqSi
- แสดงใบเสร็จการชำระเงินที่หน้าเคาน์เตอร์คลินิกก่อนรับบริการที่ BWM Clinic
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม/นัดหมายเข้ารับบริการ :
- Bangkok Wellness Medical Clinic
- เปิดให้บริการ : ทุกวัน เวลา 09:00-18:00 น. (รับคิวสุดท้าย 17.00 น.)
- ที่ตั้ง: เลขที่ 22/22 โครงการ Workplace2 ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร
- Location: http://bit.ly/3mnHmWV